ปรึกษาพร้อมสำรวจพื้นที่ โทร. telephone?>
บริษัท นาโนเฮิร์บ (ประเทศไทย) เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร สารสกัดจากพืชธรรมชาติ (Botanical Extracts) ซึ่งเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีพัฒนา ใหม่ ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดปลวกและแมลงอย่างได้ผล มีรายงานผลการตรวจวิเคราะห์จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์การ แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และจากสำนักวิจัย และพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ เหมาะสำหรับกำจัดและควบคุม แมลงคลาน แมลงบิน ได้ในทุก สถานที่ ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ โกดังข้าว โกดังแป้ง บนเครื่องบิน โรงพยาบาล โรงแรม บ้านพักอาศัย ตลอดจน สถานที่ที่ต้องการ ความปลอดภัยสูง โดยใช้ร่วมกับโปรแกรมการควบคุมแมลงตามระบบ ISO HACCP และ IPM (Integrated Pest Management)

ข้อมูลต่อไปนี้ได้นำมาจากเอกสารทางวิชาการที่บริษัทได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมสัมมนาทางวิชาการในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อ สาธารณะชน จึงได้ทำการคัดย่อมาลงไว้เป็นบางส่วน แหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่
หนังสือ “ควบคุมแมลง
ทางการแพทย์”
จัดทำโดยกลุ่มกีฏวิทยาทางการแพทย์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
หนังสือ “แมลงทางการแพทย์:
ชีววิทยาและนวัตกรรมในการป้องกันกำจัดแมลง”
จัดทำโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์
กระทรวงสาธารณสุข
หนังสือ “คู่มือผู้ควบคุมการใช้วัตถุ
อันตราย เพื่อใช้รับจ้าง”
จัดทำโดยกลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย
สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข
การให้บริการกำจัดแมลงและสัตว์รบกวนอย่างครบวงจร
ยุง
MOSQUITOES
ริ้น
MIDGES
แมลงวัน
FLIES
เรือด
BED BUGS
หมัด
FLEAS
เห็บ
TICKS
ไร
MITES
แมลงสาบ
COCKROACHES
มด
ANTS
ปลวก
TERMITES
หนู
RATS
ยุง MOSQUITOES

ยุงเป็นแมลงดูดเลือดชนิดหนึ่งที่ก่อปัญหากับชุมชน ยุงบางชนิดสร้างความรำคาญ ยุงบางชนิด เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เช่น ยุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยาและไข้ซิกา ยุงก้น ปล่องเป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย ยุงเสือเป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง เป็นต้น

ในประเทศไทยมียุงทั้งสิ้น 459 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นยุงก้นปล่อง 73 ชนิด ที่เหลือเป็นยุงรำคาญ ยุงลาย และยุงอื่นๆ


 

ยุงตัวเต็มวัยทั้ง 2 เพศ กินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ส่วนใหญ่ยุงตัวเมียยังต้องการโปรตีนจากเลือดมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อช่วยในการเจริญของไข่และใช้สร้างพลังงาน ดังนั้นยุงตัวเมียเท่านั้นที่กัดคนและสัตว์ เวลาที่ยุงออกหากินก็ไม่เหมือนกัน เช่น ยุงลายชอบหากิน ในเวลากลางวัน ยุงรำคาญชอบหากินในเวลากลางคืนยุงแม่ไก่ชอบหากินตอนพลบค่ำ และย่ำรุ่ง เป็นต้น 

ยุงตัวผู้มักมีอายุสั้นกว่ายุงตัวเมีย โดยยุงตัวผู้มีอายุประมาณ 1 สัปดาห์ ยกเว้นในกรณีที่ เลี้ยงดูด้วยอาหารสมบูรณ์และมีความชื้นเหมาะสมจะมีอายุ อยู่ได้เป็นเดือนส่วนยุงตัวเมียมีอายุ 1-5 เดือน ซึ่งขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ในฤดรู้อนยุงมีกิจกรรมมากทำให้อายุสั้นเฉลี่ย ประมาณ 2 สัปดาห์ ในฤดูหนาวยุงมีกิจกรรมน้อยจึงอายุยืน ในบางพื้นที่ยุงสามารถจำศีลตลอดฤดูหนาว 
 

การควบคุมและการป้องกัน

ขั้นตอนการดำเนินการเริ่มจากการสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ุ ความชุกชุมของลูกน้ำและตัวยุง เพื่อวางแผนจัดการควบคุม ซึ่งแหล่งเพาะพันธ์ุของยุง แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ดังนั้นต้องมีความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาและนิเวศวิทยาของยุงที่ต้องการกำจัดด้วย และหากมีการใช้มาตรการควบคุมโดย ใช้สารสังเคราะห์ (สารเคมี) จะต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม เนื่องจากสารเคมีที่นำมาใช้ในทางสาธารณสุขแล้วมีความปลอดภัยนั้นมีจำนวนไม่มาก นัก ดังนั้นการควบคุมยุงพาหะโดยการใช้มาตรการอื่นก่อน เช่น การใช้สารจากธรรมชาติ เช่น สารไพรีทรินส์ซึ่งสกัดจากดอกเบญจมาศ สารนิโคติน จากใบยาสูบ สารสกัดจากสะเดา (Neem) โล่ติ้น (Rotenone) รวมไปถึงการใช้สารกำจัดลูกน้ำ (larvicides) เคลือบทรายหรือเคลือบซีโอไลท์ มีฤทธิ์ กำจัดลูกน้ำยุงลาย ได้นาน 8-20 สัปดาห์ น่าจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยมากกว่าการใช้สารสังเคราะห์ (สารเคมี) โดยตรง

ริ้น MIDGES

คนไทยมักจะเรียกแมลงขนาดเล็กๆ ที่กัดเจ็บว่าริ้น แต่บางคนไม่รู้จักริ้นเลยก็มี หรืออาจจะรู้จัก ปึ่ง ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของริ้น ในประเทศไทยมีริ้นอยู่ 4 กลุ่ม คือ ริ้นน้ำเค็ม ริ้นน้ำจืด ริ้นดำ และ ริ้นฝอยทราย ปัจจุบันริ้นน้ำเค็มได้มีการขยายพันธุ์แพร่ระบาดในประเทศไทย และสร้างปัญหาให้กับ คนในพื้นที่ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิด ผลเสียต่อสุขภาพและเศรษฐกิจ จึงควรที่จะทำความรู้จักริ้นน้ำเค็มโดยเฉพาะ




 

ริ้นน้ำเค็ม หรือ ปึ่ง เป็นแมลงขนาดเล็กมาก ขนาดใกล้เคียงกับแมลงหวี่ มีปากแบบเจาะดูดเหมือนยุง ลำตัวสีดำ หรือเทาแก่ ทำความรบกวนโดย การคลานเข้าไปในตา จมูก และหูของคน ชนิดที่สำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขในเมืองไทย มี 2 สกุล คือ Culicoides และ Leptoconops ซึ่งพบได้บริเวณชายฝั่งทะเล ป่าชายเลน ชายหาดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ต ชุมพร เกาะเสม็ด ระยอง และเกาะต่างๆ ในจังหวัดกระบี่ พังงา มีการระบาดของ Leptoconops ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศต้องรีบหนีกลับประเทศ เนื่องจากแผลจากการกัดทำให้มีอาการคัน แพ้มาก โดยมักถูกกัดบริเวณต้นคอ แขน ขา ตาตุ่ม และอาจจะเข้าในเสื้อผ่าบริเวณผิวที่อ่อนๆ ทำให้เกิดเป็นฝีและมีน้ำเหลืองไหลออกมากจากจุดที่ถูกกัด ในคนที่แพ้แมลงชนิดนี้ 
 

การควบคุมและการป้องกัน

การควบคุมริ้นน้ำเค็มเป็นเรื่องที่ยากลำบาก เพราะแหล่งเพาะพันธุ์กว้างขวางมาก แต่หากมีการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอก็สามารถควบคุมได้ ด้วยการพ่นควันกำจัดแมลงตัวเต็มวัยในบริเวณที่ชุกชุม หรือพ่นสารเคมีทำลายตัวอ่อนในบริเวณแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น ดินแฉะริมตลิ่ง ในผักที่ กำลังเน่าเปื่อย ตัวอ่อนส่วนใหญ่ฝังตัวใต้ทราย ดังนั้นการควบคุมแมลงชนิดนี้ จะต้องป้องกันไม่ให้ดินแตกระแหง ตัวเต็มวันจะเกิดขึ้นไม่ได้ และ อีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ คือใช้วิธีควบคุมระดับน้ำ หรือถมหนองน้ำให้สูงเกินกว่าน้ำใต้ดินที่จะซึมขึ้น ความสูงประมาณ 75-110 เซนติเมตร หรือถมผิวหน้าด้วยดินแล้วปลูกหญ้าทับก็จะช่วยได้

สำหรับการป้องกันในคนที่ได้ผลดี คือการใช้สารไล่แมลง (repellent) ทาผิวหนังหรือพ่นเสื้อผ้า หรือเหน็บคลิปออนที่มีพัดลมเล็กๆ เป่าสาร เมโทฟูธรินออกมา นอกจากนี้อาจจะใช้เสื้อผ้าที่เคลือบด้วยน้ำยาสมุนไพรหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์ไล่แมลงสวมใส่ และหากถูกริ้นน้ำเค็มกัดและ มีอาการคัน ให้ทาผลิตภัณฑ์ที่มีสารแอนตี้ฮิสตามิน จะช่วยรักษาอาการคันให้หายได้

แมลงวัน FLIES

แมลงวันเป็นแมลงที่มีลำตัวขนาดเล็กถึงปานกลาง มีปีก 1 คู่ มีประมาณ 6,000 ชนิด และเป็น แมลงชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหากับคนมากมาย โดยก่อให้เกิดความรำคาญแก่คนและสัตว์ แมลงวันบ้านสามารถนำโรคโดยมีเชื้อโรคติดไปกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปาก ขา และขน เชื้อโรคจะถูกถ่ายทอดไปในขณะที่แมลงวันตอมอาหาร เมื่อคนรับประทานอาหารที่มีแมลงวันตอม เข้าไปอาจจะก่อให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องเสียอย่างรุนแรง ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ นอกจากนี้อาจก่อให้เกิดโรคโปลิโอ และโรคไวรัสอื่นๆ เช่น โรคริดสีดวงตา เยื่อบุตาอักเสบและตาแดง




 

แมลงวันบางชนิดไชเข้าทางผิวหนังของคนและสัตว์ ก่อให้เกิดการอักเสบของผิวหนังและเป็นแผลเน่า ได้แก่ แมลงวันหัวเขียวและแมลงวันหลังลายบางชนิด 

นอกจากปัญหาของแมลงวันดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังพบว่าแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันมักมีกลิ่นเหม็นรบกวน ทำลายทัศนียภาพอันสวยงาม และ มีผลต่อความเป็นอยู่ของคนและสัตว์ 
 

การควบคุมและการป้องกัน

1. การควบคุมโดยวิธีการสุขวิทยาและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม วิธีนี้จัดว่าเป็นวิธีการกำจัดแมลงวันที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ซึ่งทำได้ดังนี้

  • ขยะตามบ้านเรือน นำมาใส่ถังขยะที่มีฝาปิดให้มิดชิด และนำไปฝังหรือเผาอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง
  • ขยะรวมของชุมชนนอกเขตเมือง ควรจัดเก็บอย่างสม่ำเสมอ นำไปฝังหรือเผาในที่ที่เหมาะสม
  • มูลสัตว์ต่างๆ ควรจะส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด คือนำไปทำอุตสาหกรรมปุ๋ยคอก นำไปกลบฝังใต้ต้นไม้เพื่อใช้เป็นปุ๋ย
  • มูลสัตว์ตามฟาร์มปศุสัตว์ และฟาร์มสัตว์ปีกขนาดใหญ่ เช่น โค กระบือ สุกร เป็น ไก่ ควรมีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็ว ไม่ควรเก็บสะสม ไว้มากจนเกินไป ควรจะมีการสร้างโรงเรือนที่ถูกต้อง จัดเตรียมสถานที่เก็บมูลสัตว์ และมีวิธีการเก็บที่ถูกต้องตามสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม


2. การควบคุมโดยการใช้สารเคมีควบคุมแมลงวัน โดยสารเคมีที่จะนำมาใช้ในการควบคุมแมลงวัน ควรมีคุณสมบัติดังนี้

  • ควรมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงวันได้สูง ใช้ปริมาณน้อยและแมลงวันสามารถสร้างความต้านทานได้ยาก
  • ควรจะมีฤทธิ์คงทนได้ยาวนานในสภาพธรรมชาติ และไม่สลายตัวเร็วเกินไป
  • มีความปลอดภัยต่อคน สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หากได้รับสารเคมีเข้าไปในร่างกาย จะสามารถย่อยสลาย หรือขับถ่ายออกนอกร่างกายได้ โดยเร็วไม่เกิดการสะสมในเนื้อเยื่อไขมันหรือน้ำนม
  • สามารถย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ในสภาพธรรมชาติ ไม่ตกค้างในสภาพแวดล้อมยาวนาน
  • ควรสะดวกต่อการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่สลับซับซ้อน
  • ไม่ควรมีฤทธิ์กัดกร่อน หรือเกิดการอุดตัน จนเกิดความเสียหายต่อเครื่องมือพ่นได้ง่าย
  • ราคาถูกและคุ้มค่าต่อการนำไปใช้


3. การควบคุมโดยวิธีกายภาพ

  • การใช้มุ้งลวด
  • การใช้ไม้ตีแมลงวัน
  • การใช้กรงดักแมลงวัน
  • การใช้กับดักไฟฟ้า แสงไฟ และกาว ที่มีการใช้มากตามแหล่งขายอาหารสด โรงอาหาร และโรงพยาบาล


4. การควบคุมแมลงวันโดยชีวินทรีย์ คือ ใช้สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาช่วยกำจัดแมลงวันในระยะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วงไข่ ตัวหนอน ดักแด้ หรือตัวเต็มวัย ได้แก่

  • การใช้ตัวห้ำหรือตัวไรมากินไข่หรือตัวอ่อนของแมลงวัน
  • การใช้ตัวเบียน มาทำลายแมลงวันในระยะดักแด้
  • การใช้จุลินทรีย์ และเชื้อราบางชนิดมากำจัด
เรือด BED BUGS

เรือดเป็นปรสิตภายนอกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีก ชนิดที่กัดและดูดเลือดคนที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ Climex hemipterus และ Climex lectularius ปัจจุบันพบตัวเรือดทั้ง 2 ชนิดใน ประเทศไทย ก่อนหน้านี้ในประเทศไทยไม่มีรายงานการระบาดของเรือดมาหลายสิบปี แต่ปัจจุบันเริ่ม มีข่าวการพบตัวเรือดบ่อยมากขึ้นในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา และข่าวการระบาดของตัวเรือดออกมากัด ผู้โดยสารรถไฟหลายขบวน นอกจากนี้ตามโรงแรมต่างๆ ก็เริ่มพบตัวเรือดมากขึ้น เพราะติดมากับ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป็นเหตุให้เกิดการระบาดของตัวเรือดในโรงแรมและที่พักในเมืองที่เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ เช่น กทม ชลบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต และกระบี่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงแรมและที่พักประสบปัญหาตัวเรือด ระบาดในที่พักเป็นอย่างมาก ทั้งๆที่เป็นสถานที่สะอาดแต่ก็สามารถเป็นแหล่งอาศัยและขยายพันธุ์ของตัวเรือดได้ หากมีตัวเรือดติดเข้ามาแม้เพียง ไม่กี่ตัวและไม่สามารถกำจัดให้หมดสิ้นไป


 

เนื่องจากเรือดสร้างรำคาญต่อคนและสัตว์ด้วยการกัดดูดเลือด ทำให้ผู้ที่ถูกกัดดูดเลือดรู้สึกคันบริเวณที่เรือดกัด ซึ่งเกิดจากการแพ้น้ำลายของ เรือดและต่อมาอาจทำให้เกิดการบวม ผื่นแพ้ และผิวหนังอักเสบบริเวณดังกล่าวได้ 

โดยปกติแล้วเรือดจะออกมาดูดกินเลือดคนในเวลากลางคืน รวมทั้งในที่มืด เช่นเวลาปิดไฟเข้านอนหรือในโรงภาพยนตร์ แต่เรือดอาจกัดดูดเลือด คนในเวลากลางวันได้เมื่อต้องการเลือด โดยปกติตอนกลางวันเรือดจะชอบหลบซ่อนตัวและอาศัยอยู่ตามขอบที่นอน ซอกเตียง ซอกเก้าอี้ ตามรอย แตกของพื้นห้อง ผนังห้อง และตามรอยแตกของอาคาร มักพบตัวเรือดตามอาคารสถานที่สาธารณะต่างๆ เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงเรียน รถไฟ รถโดยสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามสถานที่ที่ค่อนข้างสกปรกและมีคนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น เรือนจำ ค่ายผู้อพยพ ค่ายทหาร เรือดสามารถคลานออกมาจากที่หลบซ่อนได้ไกลถึง 6 เมตร เพื่อออกมากัดดูดเลือดคนแล้วกลับเข้าไปหลบซ่อนในที่อยู่เดิมหรือที่ใหม่ได้ 
 

การควบคุมและการป้องกัน

การป้องกันและกำจัดเรือดที่มีประสิทธิภาพต้องดำเนินการโดยใช้วิธีการผสมผสานหลายๆ ด้าน ซึ่งในที่นี้จะใช้ตัวอย่างขั้นตอนการปฏิบัติในการ ป้องกันและกำจัดเรือดในโรงแรมมาเป็นหลัก ซึ่งสามารถนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้ในบ้านเรือนที่พักอาศัยได้เช่นกัน 

1. ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของโรงแรมโดยเฉพาะแม่บ้านผู้ทำความสะอาดห้องพัก ให้มีความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาและนิเวศวิทยาของตัวเรือด ตลอดจนการ สำรวจและวิธีป้องกันกำจัดตัวเรือด

2. แม่บ้านผู้ทำความสะอาดห้องพักจะเป็นคนแรกที่รู้ว่าเริ่มมีตัวเรือดในห้องพักแล้ว ดังนั้นจึงควรดำเนินการสำรวจตัวเรือดในห้องพักอย่างละเอียด ถี่ถ้วนขณะที่เข้าไปทำความสะอาดห้องพัก โดยสังเกตสิ่งบ่งชี้ซึ่งแสดงว่ามีตัวเรือดอยู่ในบริเวณนั้น ได้แก่ ตัวเรือด(มีหรือไม่มีชีวิต) รอยเปื้อน มูลดำที่ตัวเรือดถ่ายทิ้งไว้ ไข่ของตัวเรือด คราบของตัวเรือดที่ลอกทิ้งไว้

3. ถ้าพบสิ่งบ่งชี้แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องดำเนินการสำรวจในห้องพักอย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกซอกทุกมุมของห้อง เพื่อค้นหาแหล่งหลบซ่อน ของตัวเรือดให้พบ ได้แก่ หัวเตียง ผ้าปูที่นอน ตะเข็บที่นอน ฐานรองที่นอน พรม ไม้บัว กล่องไม้ที่เก็บสายไฟบนผนังห้อง โต๊ะหัวเตียง โคมไฟ ที่วางกระเป๋า ตู้เสื้อผ้า วอลล์เปเปอร์ ม่าน เก้าอี้ โซฟา ฯลฯ รวมทั้งการรื้อสิ่งประดับหัวเตียงและฐานรองที่นอน

4. ถ้าพบตัวเรือดในห้องใดแล้ว ควรจะต้องสำรวจห้องข้างเคียงที่ติดกันด้วย ทั้งด้านซ้าย ด้านขวา และด้านตรงข้ามด้วย

5. ดำเนินการกำจัดตัวเรือดโดยใช้วิธีการที่เหมาะสมกับแหล่งหรือวัสดุที่พบตัวเรือด โดยใช้วิธีการผสมผสานทั้งที่ไม่ใช้สารเคมีและใช้สารเคมี

6. การกำจัดตัวเรือดโดยไม่ใช้สารเคมี สามารถดำเนินการได้โดยวิธีทางกายภาพ เช่น การต้มผ้าปูที่นอน การใช้เครื่องพ่นไอน้ำร้อน (Steamer) ที่จุดสัมผัสไอน้ำอุณหภูมิสูงอย่างน้อย 60 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามต้องระวังปัญหาเรื่องความชื้นของไอน้ำที่หลงเหลืออยู่บนวัสดุที่เป็น ผ้าซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปํญหาเรื่องการเกิดแบคทีเรียหรือเชื้อราตามมา ดังนั้นบนวัสดุที่เป็นผ้าหลังพ่นด้วยไอน้ำร้อนแล้ว จึงควรเป่าด้วยลมร้อน เพื่อให้แห้งสนิทด้วย

7. การกำจัดตัวเรือดโดยใช้สารเคมี ซึ่งอาจใช้ในรูปแบบการผสมน้ำฉีดพ่นให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่ที่พบว่าเป็นแหล่งหลบซ่อนของตัวเรือด การฉีดพ่น เฉพาะพื้นที่บางส่วนจะทำให้การควบคุมไม่ได้ผล เพราะตัวเรือดอาจจะเคลื่อนไหวหลบหนีอย่างรวดเร็วไปยังบริเวณใกล้เคียงในห้อง และอาจรวมไปถึง ห้องข้างเคียงที่ติดกัน

8. หลังจากฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงแล้วภายใน 3-7 วัน ควรทำการสำรวจประเมินผลอีกครั้ง หากพบว่ายังมีตัวเรือดที่มีชีวิตอยู่ (อาจเกิดจากการ ฉีดพ่นไม่ทั่วถึง) ต้องดำเนินการฉีดพ่นซ้ำ และประเมินผลหลังจากนั้นภายใน 3-7 วัน และต้องดำเนินการซ้ำจนกว่าจะไม่พบตัวเรือด ควรระลึกไว้เสมอ ว่าการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงเพื่อกำจัดตัวเรือดนั้น บางทีไม่สามารถจะกำจัดให้หมดสิ้นในการฉีดพ่นครั้งแรก ซึ่งอาจจะต้องมีการดำเนินการซ้ำอีก 2-3 ครั้ง จึงจะกำจัดให้หมดสิ้นไปได้

9. ดำเนินการปรับปรุงห้องพัก โดยการรื้อทำลายแหล่งหลบซ่อนของเรือดที่มีอยู่ทั้งหมด เช่น ใต้เตียง รอยขาดของวอลล์เปเปอร์ รอยต่อระหว่างหัวเตียง กับผนังห้อง รอยต่อระหว่างไม้บัวที่พื้นกับผนังห้อง และซ่อมแซมใหม่โดยใช้ซิลิโคนหรือกาวยางยาอุดแนวรอยแตกเหล่านี้ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งหลบซ่อน ของเรือดอีกต่อไป

10. จัดทำประวัติการพบตัวเรือดในห้องพักทุกห้อง รวมทั้งรายละเอียดการดำเนินการควบคุม และการประเมินผลการควบคุมทุกครั้ง

11. จัดทำแผนการดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมตัวเรือดในโรงแรม โดยให้มีการสำรวจตัวเรือดในห้องพักอย่างละเอียดและสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง แล้วลงบันทึกประวัติไว้แม้ไม่พบตัวเรือด ทั้งนี้ควรระลึกไว้เสมอว่าถึงแม้จะกำจัดตัวเรือดในโรงแรมจนหมดสิ้นไปแล้ว แต่ก็มีโอกาสที่อาจจะมีตัวเรือดติดมา กับลูกค้าที่เข้าพักใหม่ทุกวัน

12.หากพบตัวเรือดแม้เพียงตัวเดียว หรือพบสิ่งบ่งชี้อื้นๆ แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องรีบดำเนินการตามวิธีการที่กล่าวไว้ข้างต้นทันที

13. กำหนดวิธีการการดำเนินการเมื่อลูกค้าร้องเรียนเรื่องถูกแมลงกัดในห้องพักโดยเฉพาะตัวเรือด เช่น เมื่อย้ายลูกค้าออกจากห้องพักที่พบตัวเรือด ต้องดำเนินการกำจัดตัวเรือดในห้องดังกล่าวและห้องใหม่ที่ย้ายลูกค้าเข้าไปพักทันทีที่ลูกค้าออกจากห้องพัก เพราะตัวเรือดจากห้องเดิมอาจจะติดไปกับ ลูกค้าและอาจจะแพร่กระจายไปยังห้องใหม่รวมถึงห้องข้างเคียงที่ไม่เคยพบตัวเรือด ดังนั้นจะต้องสำรวจและประเมินผลการควบคุมอย่างละเอียดจน กระทั่งกำจัดเรือดในห้องดังกล่าวหมดสิ้นไป

14.ภาพลักษณ์ของโรงแรมที่มีเรือดในความรู้สึกของคนทั่วไป คือ ความสกปรก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว แม้โรงแรมจะดูแลความสะอาดเป็นอย่างดี แต่ถ้ามีคนนำเรือดเข้ามาแม้เพียงไม่กี่ตัวและโรงแรมไม่ดำเนินการกำจัดเสียแต่เนิ่นๆ ปัญหาก็จะลุกลามเพิ่มขึ้นและยากที่จะจัดการให้สำเร็จโดยง่าย และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจในระยะยาวได้

หมัด FLEAS

หมัดเป็นแมลงที่ไม่มีปีกที่มีลำตัวแบนในแนวตั้ง และมีปากแบบแทงดูดเลือด ส่วนใหญ่เป็นปรสิต ภายนอกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ปีก บางชนิดกัดดูดเลือดคนได้ หมัดทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 2,000 ชนิด ในจำนวนนี้มีประมาณ 30 ชนิดที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข ได้แก่ หมัดหนู หมัดสุนัข หมัดแมว และหมัดคน


 

เนื่องจากหมัดเป็นแมลงที่ดูดกินเลือด โดยผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิแพ้ต่อน้ำลายของหมัดจะถูกกระตุ้นให้ เกิดผื่นผิวหนัง และอาจเป็นสาเหตุของโรคลมพิษบางชนิดซึ่งมีลักษณะเป็นผื่นบวมที่ผิวหนัง และหมัดบางชนิดสามารถนำเชื้อโรคต่างๆ มาสู่คนได้ ได้แก่ กาฬโรคที่มากับหมัดหนู เป็นต้น 
 

การควบคุมและการป้องกัน

1. หมัดหนู วิธีการที่เหมาะสมในการกำจัดหมัดหนู คือ การโรยผงเคมีหรือฉีดพ่นสารกำจัดแมลงตามรัง รู และทางเดินของหนู โดยใช้วิธีการอย่าง เดียวกับการสำรวจเพื่อควบคุมหนูมาประยุกต์ใช้ เพื่อลดปริมาณหนูลงเท่ากับลดปริมาณหมัดหนูลงไปด้วย

2. หมัดคน ชนิดที่พบทั่วไป คือ Pulex irritans เป็นปรสิตภายนอกของคน หนู สุกร และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ อาศัยอยู่ตามรอยแตกตามพื้น ที่นอน และรังของหนู หรือคอกสุกร การกัดของหมัดชนิดนี้ทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง พบทั่วไปในประเทศแถบเขตร้อนที่ประชาชนยากจน เช่น อินเดีย ปากีสถาน แต่ไม่พบในประเทศไทย ป้องกันและควบคุมด้วยการรักษาความสะอาดภายในที่อยู่อาศัยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ หมัดชนิดนี้ได้ แต่หากจำเป็นต้องใช้สารกำจัดแมลงก็สามารถใช้ในรูปฉีดพ่นตามพื้นทางเดิน รอยแยกรอยแตกของอาคาร เป็นต้น

3. หมัดสุนัข และหมัดแมว ซึ่งหมัดทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก พบเป็นปรสิตภายนอกของสุนัขและแมว แต่สามารถกัดคนได้ด้วย การกำจัดหมัดสุนัขและหมัดแมวด้วยสารกำจัดแมลง สามารถทำได้โดยการใช้ฉีดพ่นที่ตัวสัตว์เลี้ยงโดยตรง และฉีดพ่นบริเวณที่อยู่ของสัตว์เลี้ยง เช่น กรงสัตว์เลี้ยง บริเวณที่สัตว์เลี้ยงชอบออกไปคลุกตัวเองกับพื้นทรายหรือหญ้า ซึ่งสารกำจัดแมลงอาจอยู่ในรูปแบบของฝุ่นผง สเปรย์ฉีดพ่น หยดน้ำยาเข้มข้น ปลอกคอ โฟมและแชมพูอาบน้ำของสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

เห็บ TICKS

เห็บ และ ไร เป็นสัตว์ขาข้อที่มีลักษณะเด่น ตัวเต็มวัยมี 8 ขา ตัวอ่อนมี 6 ขา ไม่มีปีก ไม่มีหนวด ลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้อง ลักษณะกลมรี

เห็บ มีมากกว่า 800 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นปรสิตภายนอกของสัตว์หลายชนิด ดูดกินเลือดเป็นอาหาร ทั้งเพศผู้และเพศเมีย เห็บมีสองกลุ่ม คือ เห็บแข็ง และเห็บอ่อน ซึ่งมีหลายชนิดที่กัดคนและหลาย ชนิดเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนด้วย อย่างไรก็ดียังไม่พบรายงานผู้ป่วยที่เกิดจากโรคดังกล่าวใน ประเทศไทย


 

สำหรับเห็บสุนัขซึ่งพบมากในประเทศไทยนั้น มีรายงานการก่อโรค Tick bite fever ในคน แต่ไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศไทยเช่นกัน นอกจาก นั้นแล้ว ยังพบว่าการกัดของเห็บทำให้เกิดอัมพาตได้ เกิดจากโปรตีนในน้ำลายของเห็บเพศเมีย โดยเริ่มเป็นอัมพาตตรงบริเวณที่ถูกเห็บกัด แล้ว ขยายไปยังส่วนอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตด้วยอาการหายใจล้มเหลวได้ ในประเทศไทยพบผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตบางส่วนซึ่งเกิดจากการถูกเห็บแข็งกัด เช่นกัน อาการอัมพาตจะทุเลาลงอย่างรวดเร็วเมื่อดึงเอาตัวเห็บออก 
 

การป้องกันและกำจัด

การป้องกันการถูกเห็บกัด ทำได้โดยหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีเห็บ หรือสัตว์ที่เป็นโฮสต์ของเห็บ หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อาจใช้สารไล่แมลง หรือน้ำมันตะไคร้หอมทาตามเสื้อผ้า แขน ขา ก่อนเข้าไปในพื้นที่ที่มีเห็บ เมื่อถูกเห็บกัดไม่ควรรีบดึงเห็บออกทันที เพราะจะทำให้ส่วนปากของเห็บหลุด ติดค้างอยู่ ควรทำให้เห็บคลายส่วนปากออกก่อนด้วยอีเธอร์ หรือคลอโรฟอร์ม หรือน้ำมัน แล้วจึงดึงตัวเห็บออกอย่างช้าๆ 

สารที่ใช้กำจัดแมลงสามารถนำมาใช้กำจัดเห็บได้ ซึ่งมีรูปแบบต่างๆ เช่น ผงฝุ่น น้ำยาเข้มข้น น้ำยาสเปรย์ สามารถเลือกใช้ได้กับสัตว์เลี้ยง กรงสัตว์ หรือบริเวณที่สัตว์ชอบออกไปคลุกตัว เป็นต้น

ไร MITES

เป็นสัตว์ขาข้ออีกกลุ่มหนึ่งเช่นเดียวกับเห็บ จึงมีรูปร่างคล้ายเห็บ แต่ลักษณะที่แตกต่างไปจากเห็บ คือ มีขนาดเล็กมาก ตั้งแต่ 100 ไมโครมิเตอร์ จนถึง 1 มิลลิเมตร ลำตัวบอบบาง มีขนมาก ไรมีอยู่ หลายชนิด ทั้งที่เป็นปรสิตและอาศัยอยู่อย่างอิสระในธรรมชาติ แต่ชนิดที่มีผลกระทบกับคน ได้แก่ ไรหิด ไรอ่อน ไรฝุ่นบ้าน และไรขุมขน


 


 

การป้องกันและกำจัด

  • ไรหิด (Itch mites) ชนิดที่เป็นปรสิตในคนทำให้เกิดโรคหิด โรคหิดมีระยะฟักตัว 2-3 วัน โดยไรหิดเพศเมียจะขุดผิวหนังเป็นอุโมงค์เข้าไป สามารถ เห็นรอยขุดอุโมงค์เป็นรอยย่นเล็กๆ ตามผิวหนัง โดยมากพบที่ง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า รักแร้ ข้อศอก หัวเข่า หน้าขา หรืออวัยวะสืบพันธุ์ มีอาการคันมาก โดยเฉพาะในเวลากลางคืน อาจเป็นผื่นร่วมด้วย การรักษาโรคหิด ให้ทาด้วย 1% sulfur ointment แล้วทาซ้ำอีกครั้งในสัปดาห์ถัดไปอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ควรแยกเสื้อผ้าและของใช้ของผู้ป่วยไว้ต่างหาก ไม่ให้ปะปนกับของผู้อื่น
     
  • ไรอ่อน (Chiggers) เป็นพาหะสำคัญในการนำโรค scrub typhus สู่คนโดยการกัดของไรอ่อนที่มีเชื้ออยู่แล้ว มักเป็นชาวบ้านที่เก็บของป่า หรือ นักท่องเที่ยวที่ชอบเดินป่า รอยที่ถูกไรอ่อนกัดมีลักษณะคล้ายถูกบุหรี่จี้ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรคด้วย การกำจัดไรอ่อนอาจใช้ สารกำจัดแมลงฉีดพ่น หรือโรยตามทางเดินที่โฮสต์เดินผ่าน การเผาหรือถางพงหญ้าไม่ให้เป็นที่เกาะพักของไรอ่อนก็สามารถลดปริมาณของไรอ่อน ในพื้นที่ชุกชุมลงได้
     
  • ไรฝุ่นบ้าน (House dust mites) เป็นตัวการสำคัญในการผลิตสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้านเรือน ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ต่างๆ เช่น จมูกอักเสบ หืด และผิวหนังอักเสบ ไรฝุ่นมีขนาดเล็กมากประมาณ 100-300 ไมโครมิเตอร์ ไรฝุ่นไม่ชอบแสงสว่าง จึงอาศัยหลบซ่อนอยู่ในวัสดุเส้นใย เช่น ที่นอน หมอน ผ้าห่ม โซฟาบุนวม พรม หรือตุ๊กตา ไรฝุ่นกินเศษรังแค สะเก็ดผิวหนัง และสารอินทรีย์อื่นๆ ในฝุ่นเป็นอาหาร ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ ได้นาน 1-2 เดือน การป้องกันและกำจัดไรฝุ่นทำได้โดยการรักษาสุขลักษณะภายในที่อยู่อาศัย เช่น ความสะอาด แสงสว่าง ไม่อับชื้น อากาศถ่าย เทสะดวก ทำความสะอาดเครื่องนอนเป็นประจำ การตากแดดและซักด้วยน้ำร้อนช่วยฆ่าไรฝุ่นที่ติดอยู่ได้ เครื่องดูดฝุ่นสามารถดูดสารก่อก่อภูมิแพ้ ออกไปได้บ้างแต่ไม่สามารถกำจัดตัวไรฝุ่นได้หมด การใช้ผ้าพลาสติกคลุมที่นอนจะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยได้รับสารก่อภูมิแพ้ที่อาจฟุ้งกระจายจาก ที่นอนได้
     
  • ไรนก (Tropical fowl mites) เป็นปรสิตของนก มักพบในบ้านเรือนหรืออาคารที่มีนกหนาแน่น ไรนกอาศัยอยู่ตามรักนกที่อยู่ในมุมอับชื้น มักพบ ตามชายหลังคา ระเบียง และฝ้าเพดานใต้หลังคา ขณะเจริญเติบโตไรนกจะกัดดูดเลือดจากนก แต่เมื่อนกทิ้งรังไป ไรนกจะเข้ามาในอาคารเพื่อกัด ดูดกินเลือดคนแทน การกัดของไรนกทำให้เกิดเป็นตุ่มแดงที่ผิวหนัง อาจคันมากและทำให้ผิวหนังอักเสบด้วย การกำจัดไรนกทำให้โดยการกำจัด รังนกในบริเวณอาคารบ้านเรือน และป้องกันไม่ให้นกเข้ามาทำรังได้อีก เมื่อพบการถูกกัดจากไรนกอาจใช้สารกำจัดแมลงฉีดพ่นบริเวณชายหลังคา ระเบียง และฝ้าเพดานใต้หลังคาที่มีรังนกอยู่ เมื่อไม่มีนกให้ดูดกินเลือดไรนกมีชีวิตอยู่ได้เพียง 10 วันเท่านั้น 
แมลงสาบ COCKROACHES

แมลงสาบเป็นแมลงดึกดำบรรพ์ที่อาศัยอยู่บนโลกมานานประมาณ 250 ล้านปีโดยสันนิษฐานจาก หลักฐานซึ่งเป็นฟอสซิลที่ถูกค้นพบ เนื่องจากแมลงสาบเป็นพาหะสำคัญที่สามารถนำเชื้อโรคต่างๆ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือโปรโตซัว ติดต่อมาสู่คนได้โดยที่เชื้อโรคเหล่านี้ติดมากับขาหรือ ลำตัวของแมลงสาบในขณะที่แมลงสาบออกหากินตามบริเวณที่สกปรก หรือการที่เชื้อโรคเหล่านี้ อาจถูกแมลงสาบกินเข้าไปแล้วไปสะสมอยู่ในระบบทางเดินอาหารและถ่ายมูลออกมา ทำให้เชื้อโรค ต่างๆ ดังกล่าวสามารถปนเปื้อนในอาหารหรือหรือภาชนะที่แมลงสาบเดินผ่านได้ ดังนั้นกลไกใน การแพร่เชื้อโรคของแมลงสาบ จึงเกิดจากพฤติกรรมในการออกหาอาหารและการกินอาหารของแมลงสาบซึ่งชอบหาอาหารตามสิ่งปฏิกูล และระหว่าง เดินจะสำรอกและถ่ายมูลไปตลอดทาง โรคที่นำโดยแมลงสาบส่วนใหญ่จึงเป็นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น อุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ และอาหาร เป็นพิษ เป็นต้น


 

จากรายงานการวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่าแมลงสาบเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้และหอบหืดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วย เด็ก แมลงสาบจะปล่อยสารก่อภูมิแพ้ (allergen) ออกมาสู่บริเวณที่เดินผ่านหรือฟุ้งลอยอยู่ในอากาศ เมื่อคนสัมผัสสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ต่อเนื่องกัน ในระยะเวลาพอสมควร ก็จะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้และหอบหืดขึ้นได้ สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้เชื่อว่าเกิดมาจากมูลหรือสารบางอย่างบนตัวของแมลงสาบ ผลการวิจัยหลายๆ รายงานพบว่ามีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และหอบหืดจำนวนไม่น้อยที่ให้ผลการทดสอบที่เป็นบวกต่อการทดสอบกับสารก่อภูมิแพ้ที่สกัด จากแมลงสาบอเมริกันและแมลงสาบเยอรมัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแมลงสาบทั้งสองชนิดนี้เป็นตัวการสำคัญชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้และหอบหืด ของคน 
 

การควบคุมและป้องกัน

มาตรการที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงสาบในบ้านเรือน สามารถดำเนินการได้ด้วย 2 วิธีการใหญ่ๆ คือ

  • การจัดการสภาพแวดล้อม การรักษาความสะอาดภายในบริเวณบ้าน เช่น ห้องนอน ห้องครัว ห้องน้ำ และห้องเก็บของ เป็นหัวใจสำคัญของการ ป้องกันไม่ให้แมลงสาบเข้ามาอาศัยและแพร่พันธุ์ภายในบ้าน และทำการป้องกันไม่ให้แมลงสาบเข้าสู่บ้านโดยการปิดหรืออุดช่องโหว่ต่างๆ บริเวณ ประตูหน้าต่าง หรือร่องแตกร้าวบนผนังตัวบ้าน รวมทั้งติดตะแกรงตาข่ายบริเวณรูเปิดสู่ท่อระบายน้ำทิ้งในห้องน้ำ หรือห้องครัว หรือนอกบ้าน ภายในบ้านควรจัดเก็บข้าวของต่างๆ ให้เป็นระเบียบ เพื่อไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของแมลงสาบได้ เก็บอาหารทั้งสดและแห้งให้มิดชิด และคอยระวัง ไม่ให้มีเศษอาหารตกหล่นบนพื้น ถังขยะต้องมีฝาปิดมิดชิด และควรหมั่นนำขยะไปกำจัดทิ้งอย่างสม่ำเสมอ
     
  • เมื่อพบว่ามีแมลงสาบอยู่ภายในบ้าน จำเป็นต้องรีบควบคุมกำจัดให้หมดไปโดยเร็ว โดยการใช้สารกำจัดแมลง ซึ่งถูกนำมาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณ ฑ์กำจัดแมลงสาบได้หลายรูปแบบ เช่น สเปรย์ละอองฝอย ผงสำหรับโรย หรือเหยื่อพิษ เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์กำจัดแมลงสาบที่นิยมใช้ คือ กับดัก แมลงสาบ ซึ่งมีทั้งแบบที่เป็นกับดักประตูกล และกับดักที่เป็นกาวเหนียว ประสิทธิภาพของกับดักแมลงสาบส่วนมากขึ้นกับเหยื่อหรือสารที่ใช้ล่อ แมลงสาบให้มาเข้ากับดัก ถ้าเหยื่อหรือสารที่ใช้ล่อนั้นสามารถดึงดูดแมลงสาบได้ดีก็จะทำให้กับดักนั้นมีประสิทธิภาพสูง 
มด ANTS

มีมดอยู่มากมายหลายชนิดที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคน โดยส่วนใหญ่จะเป็นในแง่ที่เป็นโทษ โดยนอกจากเข้ามามีส่วนแบ่งอาหารและที่อยู่อาศัย ทำให้เสียเงินเป็นจำนวนมากๆ ทุกปีในการ ป้องกันกำจัดแล้ว ยังทำอันตรายต่อคนโดยการกัด ต่อย และปล่อยน้ำพิษลงไปในรอยแผลที่กัด ทำให้รู้สึกเจ็บปวด มดเกือบทุกชนิดใช้ปากกัด แต่บางชนิดก็ต่อยด้วยเหล็กในที่อยู่ปลายท้อง และมีบางชนิดที่ทำอันตรายคนโดยทั้งกัดและต่อย ทำให้บริเวณนั้นมีอาการบวม ซึ่งจะมากหรือ น้อยขึ้นอยู่กับอาการแพ้ของแต่ละคนและตำแหน่งของร่างกายที่ถูกกัดต่อยด้วย และอาจมีการ ติดเชื้อซ้ำ ทำให้เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง นอกจากนั้นมดยังเป็นตัวพาเชื้อโรคติดมาตามขาและหนวดเมื่อขึ้นมากินอาหารของคน ทำให้มีเชื้อโรคปะปน ในอาหาร


 

ชนิดของมดที่พบในประเทศไทย มีหลายชนิด เช่น มดคันไฟ มดละเอียดหรือมดเหม็น มดง่าม มดแดง และมดตะนอย เป็นต้น 
 

การควบคุมและป้องกัน

การป้องกันกำจัดมดให้ได้ผลดีก็เช่นเดียวกับการป้องกันกำจัดแมลงทั่วๆ ไป คือ ควรต้องทราบ ชนิด ลักษณะ อุปนิสัย และความเป็นอยู่ต่างๆ ของ มดแต่ละประเภทเพื่อให้สามารถหาวิธีการที่เหมาสม โดยอาจใช้หลายๆ วิธีรวมกันได้ ในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมมดในบ้านเรือนนั้นสิ่งที่สำคัญ ที่สุด คือ ความสะอาด อาหารทุกประเภทรวมทั้งเศษอาหารสามารถดึงดูดมดให้เข้ามารบกวนในบ้านเรือนได้ ดังนั้นอาหารทุกอย่างควรเก็บในภาชนะ ที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่ควรปลูกต้นไม้ที่มีน้ำหวานไว้ใกล้บ้าน เนื่องจากจะเป็นตัวดึงดูดมดให้เข้ามาได้เช่นกัน 

เมื่อใดก็ตามที่เราพบมดเข้ามารบกวนในบ้านเรือนแล้ว การฆ่ามดที่เห็นถึงแม้จะเป็นจำนวนมากก็ยังจะไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ กุญแจสำคัญ ในการป้องกันกำจัดมด คือจะต้องหารังของมดให้พบ ซึ่งเราควรทราบชนิดของมดนั้น เนื่องจากมีมดเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่จะมาสร้างรังอยู่ใกล้ที่ อาศัยของคน ในการตามหารังของมด เราอาจสังเกตได้จากร่องรอยที่มดทิ้งไว้ มดมักจะใช้ทางเดินซ้ำๆ ในการเข้ามาหาอาหาร เราอาจวางอาหาร พวกน้ำตาล หรือโปรตีนเพื่อล่อให้มดเข้ามา แล้วเราติดตามเพื่อค้นหารังมอที่อยู่นอกบ้านบนพื้นดิน เราอาจสังเกตรังมดนอกบ้านในพื้นดินได้จาก การที่จะมีกองดินพูนขึ้นมา หรือมีขุยดิน รวมทั้งมีช่องทางที่มดใช้เข้าออกอยู่บนดิน ส่วนมดที่สร้างรังภายในบ้านเรือน อาจสร้างรังอยู่ตามฝาผนังบ้าน บางครั้งเมื่อพบมดอยู่ตามรอยแตกของบ้าน รังของมดอาจอยู่ไกลออกไปจากบริเวณนั้น

ในการใช้สารกำจัดมดนั้น อาจใช้ในลักษณะเพื่อป้องกันหรือตัดทางเดินไม่ให้มดเข้ามาในบ้าน โดยการฉีดพ่นสารกำจัดมดบริเวณกรอบประตู หน้าต่าง รอยแตกของบ้าน ทางเดินระหว่างกำแพงกับพื้นบ้าน และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการป้องกันในระยะยาว

ปลวก TERMITES

ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมาก มีทั้งคุณและโทษ ในแง่ประโยชน์ปลวกจัดเป็น ส่วนหนึ่งของสังคมป่าไม้ที่สำคัญมาก เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายในระบบนิเวศน์ ส่วนโทษของ ปลวกนั้นเกิดขึ้นเพราะว่าปลวกเป็นแมลงที่ต้องการเซลลูโลสซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในไม้และ เส้นใยต่างๆ เป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิต ดังนั้น เราจึงพบปลวกเข้าทำลายความเสียหายอย่าง รุนแรงให้แก่ไม้หรือโครงสร้างไม้ภายในอาคารบ้านเรือน รวมถึงวัสดุข้าวของ เครื่องเรือน เครื่องใช้ ต่างๆ ที่ทำมาจากไม้ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ


 

ในประเทศไทยมีปลวกแพร่กระจายอยู่กว่าสองร้อยชนิด แต่มีเพียงสิบกว่าชนิดเท่านั้นที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อไม้ที่นำไปใช้ประโยชน์ ปลวกใต้ดินจัด เป็นปลวกที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนคิดเป็นมูลค่าปีละหลายร้อยล้านบาท การเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้เริ่มขึ้นจากปลวกที่อาศัย อยู่ใต้พื้นดิน ทำท่อทางเดินดินทะลุขึ้นมาตามรอยแตกของพื้นคอนกรีต หรือรอยต่อเชื่อมระหว่างผนัง เสา หรือคานคอดิน เพื่อเข้าไปทำลายโครงสร้าง ไม้ต่างๆ ภายในอาคาร เช่น เสา คานไม้ พื้นปาร์เก้ คร่าวเพดาน คร่าวฝา ไม้วงกบ ประตูและหน้าต่างไม้ เป็นต้น 

ในการดำรงชีวิตของปลวกใต้ดิน นอกจากอาหารแล้ว ความชื้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของปลวกอีกประการหนึ่ง ข้อมูลทางชีววิทยาและ นิเวศวิทยาของปลวกแต่ละชนิด จะช่วยให้เราสามารถวางแผนแนวทางในการป้องกันกำจัดปลวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีการดำเนินการหลาย วิธี เช่น การทำให้พื้นดินภายใต้อาคารเป็นพิษ การทำแนวป้องกันใต้อาคารที่ปลวกใต้ดินไม่สามารถเจาะผ่านได้ หรือการทำให้เนื้อไม้เป็นพิษทำให้ปลวก ใช้เป็นอาหารไม่ได้ เป็นต้น 
 

การควบคุมและป้องกัน

ปลวกโดยส่วนมากจะมีช่องทางการเข้าทำลายอาคารบ้านเรือนอยู่หลายช่องทาง เช่น ตามรอยแตกร้าวของพื้นคอนกรีต บันได หรือรอยต่อระหว่าง พื้นคอนกรีตและผนังอาคาร ท่อประปา ท่อน้ำทิ้ง และตามปล่องท่อสายไฟ ซึ่งการป้องกันและกำจัดปลวกนั้น วิธีการดังต่อไปนี้ 

1. การอัดสารกำจัดปลวก ซึ่งอาจจะเป็นสารเคมี หรือเชื้อราเขียวที่สามารถกำจัดปลวกได้ ลงไปในพื้นดินใต้อาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ ผ่านท่อสำหรับ อัดน้ำยาโดยเฉพาะ เพื่อทำให้ดินใต้อาคารมีสภาพเป็นพิษ หรือเกิดเชื้อราเขียวปกคลุมกระจายอยู่ใต้อาคาร 

2. ดำเนินการสำรวจในตัวอาคาร และฉีดพ่นสารกำจัดปลวก ใต้ฝ้าหลังคา โครงสร้างหลังคาที่เป็นไม้ แนวขอบบัวไม้ วงกบประตู หน้าต่าง ท่อระบาย น้ำบริเวณระเบียงบ้าน และในห้องน้ำ ห้องเก็บของใต้บันได 

3. ดำเนินการสำรวจและฉีดพ่นสารกำจัดปลวกภายนอกอาคาร รอยแยกของผนัง ขอบกำแพง แนวไม้ค้ำต้นไม้รอบบ้าน และแนวท่อระบายน้ำภาย นอกบ้าน 

4. อาจมีการวาง Station ใส่เหยื่อกำจัดปลวกบริเวณภายนอกบ้าน ในกรณีที่อาคารที่ต้องการป้องกันไม่มีท่ออัดน้ำยาใต้อาคาร หรือเพื่อใช้เสริมแนว ป้องกันปลวกอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งขึ้นกับงบประมาณค่าใช้จ่ายที่ได้วางแผนเอาไว้ 

การกำจัดปลวกให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น ผู้ปฏิบัติการถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างมาก เพราะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรม มีความสามารถ เข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกมาเป็นอย่างดี มีความชำนาญในการสำรวจหรือวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของแหล่งที่เกิดปัญหา และประเมินความเสียหายได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ตลอดจนเป็นผู้มีวิจารณญานที่ดีในการพิจารณาเลือกใช้แนวทางในการจัดการที่เหมาะสม สอดคล้องกับงบประมาณในการดำเนินงาน คำนึงถึงประสิทธิผลในการควบคุม และตระหนักถึงความปลอดภัยของการเลือกใช้วิธีการต่างๆ ด้วย

หนู RATS

หนูเป็นศัตรูที่สำคัญของมนุษย์ และนำความเสียหายนานัปการแก่เศรษฐกิจเป็นจำนวนมหาศาล ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความเสียหายทางตรงที่เด่นชัด คือ การกัด แทะ กินพืชผลที่คนปลูกไว้ ในไร่นา รวมทั้งการทำให้เกิดการปนเปื้อนในที่เก็บรักษาในระหว่างรอการขนส่ง เป็นต้น นอกจากนี้ หนูยังสามารถทำลายข้าวของภายในอาคารบ้านเรือนให้เสียหาย หนูเป็นพาหะสำคัญที่นำโรคหลาย ชนิดมาสู่คนและสัตว์เลี้ยง เช่น โรคไข้ฉี่หนู โรคไข้หนู กาฬโรค โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ส่วนความเสียหายทางอ้อมมักเกิดจากการกัดแทะเพื่อลับฟันของหนูตามวัสดุของสิ่งก่อ สร้าง ของใช้ต่างๆ สายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในอาคาร ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน


 

ในปัจจุบันระบบผลิตอาหารปลอดภัยนั้นจะต้องคำนึงถึงการผลิตทุกขั้นตอน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนในทุกขั้นตอน และการป้องกันกำจัดหนูจึงเป็น มาตรการหนึ่งในการรับรองมาตรฐานการผลิตที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เช่น ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสำหรับคนและสัตว์ โรงสีข้าว ที่ผลิตข้าวบรรจุถุงสำเร็จรูป รวมไปถึงร้านอาหารภัตตาคารที่มีบริเวณครัวในการปรุงอาหารสำหรับลูกค้าที่มาทานอาหาร ดังนั้นการป้องกันและกำจัด หนูอย่างถูกต้องและเป็นระบบจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก 

หนูที่สำคัญและพบมากในประเทศไทย มี 3 ชนิด คือ หนูพุก หนูท้องขาว และหนูหริ่ง หนูเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็วและเกือบตลอดปี และออกลูก ครอกละหลายตัว หลังคลอดลูกแล้ว 24 ชั่วโมง แม่หนูสามารถรับการผสมพันธุ์ได้ทันที ดังนั้นในปีหนึ่งๆ หนูจะออกลูกได้หลายครอก และมีการ คำนวณประมาณว่าในเวลา 1 ปี หนู 1 คู่ สามารถขยายพันธุ์รวมกันได้มากกว่า 1,000 ตัว 
 

การควบคุมและป้องกัน

แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ 
1. การลดจำนวนหนู ได้แก่ การใช้กับดัก กรงดัก กาวดัก รวมไปถึงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยใช้หลักการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี เน้นการ รักษาความสะอาด การเก็บขยะมูลฝอยที่มิดชิด และการกำจัดขยะที่ถูกต้อง เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดปัจจัยพื้นฐานที่หนูต้องการเพื่อการดำรงชีวิต 

2. การจัดการหนู เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าหนูเป็นสัตว์ที่ฉลาด สามารถหลบเลี่ยง หรือหลบหลีกวิธีการปฏิบัติของคน ดังนั้นการป้องกันและ กำจัดหนูจึงต้องใช้วิธีการหลายๆ วิธีไปพร้อมกัน จึงจะประสบความสำเร็จ ดังนั้น หลักการจัดการหนูแบบบูรณาการ (integrated rodent pest management) จึงควรนำมาใช้โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • สำรวจร่องรอยของหนู คือ รอยกัดแทะ โพรงหรือรูหนู รอยทางเดินและรอยตีนหนู มูลหนู ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ว่ากำลังมีปัญหา กับหนูชนิดไหน
  • ปรับปรุงสภาพแวดล้อมตามหลักสุขาภิบาล และทำการปิดทางเข้าของหนู รวมไปถึงการทำลายรูหนูที่สำรวจพบภายนอกอาคาร
  • กำจัดหนูด้วยวิธีทางกล เช่น ใช้กรงดัก กับดักแบบต่างๆ ใช้กาวดัก ใช้รั้วพลาสติก เป็นต้น
  • กำจัดหนูด้วยสารเคมี ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงาน อย. ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างดี
  • ทำการประเมินและสำรวจผลหลังการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 3 เดือน